สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 กุมภาพันธ์ 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,276 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,379 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,652 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,655 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.83
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,190 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,410 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,080 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 888 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,926 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 154 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,722 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,645 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 77 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,822 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,743 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 79 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3109 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะการค้าข้าวทรงตัวหลังจากผ่านช่วงเทศกาลตรุษเวียดนาม (Tet) ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 445-450 ดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางภาวะอุปทานข้าวในตลาดยังคงมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ขณะที่ผู้ส่งออกต่างเร่งหาซื้อข้าวเพื่อเตรียมไว้สำหรับสัญญาส่งมอบฉบับใหม่
ข้อมูลเบื้องต้นในช่วงเดือนมกราคม 2566 มีการส่งออกข้าวประมาณ 400,000 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่วันที่ 1-31 มกราคม 2566 มีเรือเข้าเทียบท่าเรือของเวียดนามจํานวน 35 ลํา เพื่อรับมอบข้าวทุกชนิดประมาณ 197,230 ตัน โดย 29 ลํา เข้าเทียบท่าเรือโฮจิมินห์ และ 6 ลํา ที่ท่าเรือ Mỹ Thới โดยส่งไปยังปลายทางที่ฟิลิปปินส์ รวม 96,430 ตัน และอินโดนีเซีย รวม 100,800 ตัน
สํานักข่าวซินหัวรายงานว่า สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) คาดการณ์การส่งออกข้าว ปี 2566 มีแนวโน้มเติบโต ขณะที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่ผันผวน ทําให้ความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2566 เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 226,000 ตัน มูลค่ากว่า
115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยสายพันธุ์ข้าวในเวียดนามมากกว่าร้อยละ 80
เป็นข้าวหอมคุณภาพสูง ซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนสําคัญที่เพิ่มมูลค่าและการเข้าถึงตลาดต่างๆ ของเวียดนาม โดยเวียดนามมีการส่งออกข้าวหอมพันธุ์ ST24 และ ST25 ไปยังตลาดตะวันออกกลาง ในระดับราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ราคาส่งออกข้าวเวียดนามยังมีแนวโน้มสูงขึ้นและกลับสู่ระดับที่เคยสูงสุด ในปี 2562
ตามความต้องการข้าวสํารองที่เพิ่มขึ้นจากหลากหลายประเทศด้วย นอกจากนี้ เวียดนามยังใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่ทำไว้กับหลายประเทศ เพื่อขยายการส่งออกข้าวของเวียดนามด้วย โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (the EU–Vietnam Free Trade Agreement (EVFTA)) ซึ่งช่วยให้เวียดนามสามารถแข่งขันกับข้าว
จากประเทศกัมพูชาและเมียนมาในตลาดสหภาพยุโรปได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เวียดนามเสียเปรียบทั้งสองประเทศ
ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากสหภาพยุโรปมาหลายปี
จากรายงานโดยกลุ่มนักวิเคราะห์ที่แผนกหลักทรัพย์ (BIDV Securities Company (BSC)) ของธนาคารเพื่อการลงทุนและการพัฒนาแห่งเวียดนาม ระบุว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนในหลายประเทศอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานอาหารโลก ซึ่งกระตุ้นการนําเข้าข้าวจากจีน และลดการส่งออกจากกลุ่มประเทศผู้ปลูกข้าวรายใหญ่อย่างอินเดีย และปากีสถาน
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (the Ministry of Agriculture and Rural Development (MARD)) กําหนดแผนการผลิตข้าวคุณภาพสูงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (The Mekong Delta) ให้ได้ประมาณ 7.7 ล้านตันต่อปีบนพื้นที่ประมาณ 6.25 ล้านไร่ ภายในปี 2573 โดยกระทรวงได้เรียกร้องให้จังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ร่วมมือกันผลิตข้าว
ให้ได้ตามเป้าที่วางไว้
ทั้งนี้ ตามแผนที่วางไว้ภายในปี 2568 พื้นที่เพาะปลูกข้าวคุณภาพสูงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกําหนดไว้
ที่ประมาณ 3.125 ล้านไร่ และได้ผลผลิตประมาณ 3.8 ล้านตัน ซึ่งกําหนดเป้าหมายให้เกษตรกรมีกําไรประมาณ
ร้อยละ 35 โดยจะต้องลดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และการใช้น้ำลงอย่างละประมาณร้อยละ 30
กระทรวงฯ ตั้งเป้าพื้นที่ปลูกข้าวประมาณร้อยละ 80 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (the Good Agricultural Practices; GAP) เกษตรกรประมาณร้อยละ 20 สามารถใช้เทคโนโลยีในการทํานาและ
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตรประมาณร้อยละ 10 ซึ่งแผนดังกล่าวยังรวมถึงหลักเกณฑ์สําหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนและข้อกําหนดสําหรับสหกรณ์ที่ต้องการเข้าร่วมด้วย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
กัมพูชา
สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (The Cambodia Rice Federation; CRF) ตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวสารอย่างน้อย
1 ล้านตัน ภายในปี 2568 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออกในปี 2565 และปี 2566 กัมพูชา
ตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวสารให้ได้ 750,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออก 637,004 ตัน
ในปี 2565
นาย Chan Sokkheang ประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่า สมาพันธ์ข้าวกัมพูชากําหนดเป้าหมาย
การส่งออกข้าวไว้ 2 ข้อ คือ ภายในปี 2566 จะเพิ่มการส่งออกเป็น 750,000 ตัน และแตะ 1 ล้านตัน ภายในปี 2568 นอกจากนี้ CRF ยังตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมธุรกิจข้าวที่ทำกําไรได้ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมสำคัญๆ มากมาย
สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) จะยังคงร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ the Ministry of Commerce ผ่านบริษัท Green Trade เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และขยายศักยภาพทางการตลาดด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ CRF จะยังคงเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มการส่งออกข้าวสาร
ไปยังประเทศจีนให้มากกว่าโควตาที่กําหนดไว้ที่ 400,000 ตัน ในปี 2566
ในปี 2565 กัมพูชาส่งออกข้าวสารจํานวน 637,004 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จาก 617,069 ตัน ในปี 2564 สร้างรายได้ประมาณ 414 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกสินค้าไปยัง 59 ประเทศและภูมิภาคในปี 2565 โดยจีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่อันดับหนึ่งของกัมพูชา และพันธุ์ข้าวที่ส่งออก ได้แก่
ข้าวหอมระดับพรีเมียม ข้าวหอม ข้าวขาวเมล็ดยาว ข้าวนึ่ง ข้าวอินทรีย์ และข้าวเหนียว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับสูงขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม (ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564) เนื่องจากความต้องการข้าวจากผู้ซื้อต่างประเทศยังคงมีมาก ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณจํากัด โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 393-398 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ 387- 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าระบุว่า ในปี 2565 รัฐบาลได้เร่งรับซื้อข้าวจากเกษตรกร และสามารถจัดหาข้าวได้มากเป็นประวัติการณ์ ทำให้อุปทานข้าวในตลาดมีน้อยลง
สํานักข่าว Reuters รายงานว่า การส่งออกข้าวของอินเดีย ในปี 2565 ปรับขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
แม้ว่ารัฐบาลจะควบคุมการขายข้าวไปต่างประเทศ เนื่องจากผู้ซื้อยังคงซื้อข้าวจากอินเดีย เพราะราคาที่ต่ำกว่าประเทศ
ผู้ส่งออกรายอื่นๆ ซึ่งการส่งออกมากเป็นประวัติการณ์นี้ เป็นผลมาจากประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกาได้เร่ง
นําเข้าข้าวในช่วงที่ข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย
ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2565 รัฐบาลอินเดียได้ออกมาตรการห้ามส่งออกข้าวหักและเก็บภาษีส่งออกข้าวขาว (ยกเว้นข้าวนึ่งและข้าวบาสมาติ) ในอัตราร้อยละ 20 เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงจากอิทธิพลของลมมรสุมที่แปรปรวน
ที่ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ระบุว่า การส่งออกข้าวของอินเดียในปี 2565 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.5 จาก
ปี 2564 เป็น 22.26 ล้านตัน หรือมากกว่าการส่งออกรวมกันของผู้ส่งออกข้าว 4 ราย รองจากอินเดีย ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกข้าวของอินเดียลดลงหลังจากรัฐบาลกําหนดมาตรการเก็บภาษีส่งออก
แต่สามารถฟื้นตัวได้ในไม่ช้า โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2565 อินเดียสามารถส่งออกได้มากกว่า 2 ล้านตัน ส่งผลให้
ในปี 2565 ปริมาณส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ (non-basmati rice) อยู่ที่ประมาณ 17.86 ล้านตัน ขณะที่
ข้าวบาสมาติระดับพรีเมียม (premium basmati rice) อยู่ที่ประมาณ 4.4 ล้านตัน
โดยตลาดหลักของข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ได้แก่ ประเทศในแถบแอฟริกาและเอเชีย ในขณะที่ตลาดหลักของข้าวบาสมาติ ได้แก่ ตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
นาย Nitin Gupta รองประธานฝ่ายธุรกิจข้าวของ Olam India กล่าวว่า การกําหนดภาษีส่งออกสําหรับข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ ทําให้ราคาข้าวปรับสูงขึ้น แต่ผู้ซื้อได้กลับมาซื้อในไม่ช้า เนื่องจากราคาข้าวของไทยและเวียดนามอยู่ในระดับราคาที่สูงกว่าอินเดีย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การส่งออกของอินเดียจะยังคงแข็งแกร่งในปี 2566
ผู้ค้ารายหนึ่งกล่าวว่า อินเดียเสนอขายข้าวขาว 25% ในราคาประมาณตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ เวียดนามเสนอขายที่ราคาประมาณตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยอยู่ที่ประมาณตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่นาย B.V. Krishna Rao ประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวแห่งอินเดีย (Rice Exporters Association of India) กล่าวว่า แม้จะมีการส่งออกที่สูงขึ้น แต่อินเดียก็มีสต็อกในประเทศเพียงพอ
กระทรวงเกษตรฯ (the Ministry of Agriculture and Farmers’ Welfare (MOAFW)) รายงานว่า ณ วันที่
3 กุมภาพันธ์ 2566 เกษตรกรเพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตรองหรือ Rabi crop แล้วประมาณ 28.9 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับจำนวน 21.9 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ฤดูการผลิตรอง หรือ Rabi crop ของอินเดียจะเริ่มการหว่านเมล็ดในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุในรายงานว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) จะเริ่มการประมูลข้าวเก่าเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์อีกครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อหมุนเวียนข้าวเก่าออก จัดหาทางเลือกธัญพืช และ บรรเทาราคาธัญพืชอาหารสัตว์ที่ปรับสูงขึ้น
โดยปริมาณข้าวในสต็อกเก่าที่มีข่าวลือว่าจะเสนอขายอยู่ที่ประมาณ 18 ล้านตัน ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เสนอในปี 2564 และ 2565 ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่า ปริมาณสํารองข้าวเก่าในสต็อกลดน้อยลงในปี 2565 เนื่องจากมีข้าวเก่าถูกประมูลออกไปเพื่อที่จะคลายแรงกดดันต่อราคาข้าวโพดและนําสต็อกข้าวใหม่เข้ามาแทนที่
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 413.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,751 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 416.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,564.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 187.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 676.00 เซนต์ (8,985 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล 679.00 เซนต์ (8,826.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 159.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 33.358 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.90 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 0.20 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต
ออกสู่ตลาด 7.14 ล้านตัน (ร้อยละ 21.41 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.86 ล้านตัน (รอยละ 59.54 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.43 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.75
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.28 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.56 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,200 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,020 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,150 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,570 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.58


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.142 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.206 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.854 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.154 ล้านตันของเดือนมกราคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 33.72 และร้อยละ 33.77 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.08 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.52 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.73
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 29.15 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 28.80 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.22
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียได้ปรับตัวขึ้น หลังจากที่ปริมาณการส่งออกและราคาน้ำมันพืชอื่นๆ สูงขึ้น โดยปริมาณส่งออกในช่วงวันที่ 1 – 10 ก.พ. สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของเดือนก่อน ร้อยละ 39.30 และมาเลเซียมีสต็อกน้ำมัน ณ สิ้นเดือน มกราคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.27
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,819.71 ริงกิตมาเลเซีย (30.26 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,759.87 ริงกิตมาเลเซีย (29.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.59  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 974.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 964.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - นักวิเคราะห์จาก TempoCampo System ของประเทศบราซิล กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมอยู่ในเกณฑ์ดีส่งผลช่วยให้ผลผลิตอ้อยดีขึ้น และมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนในภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะดีขึ้น แต่ก็อาจจะมีสภาพอากาศแห้งในเดือนเมษายน ด้าน hEDGEpoint Global Markets กล่าวเสริมว่า อากาศอาจจะแห้งขึ้นในเดือนมีนาคม ซึ่งน่าจะเอื้ออำนวยให้เริ่มทำการหีบอ้อยได้เร็วขึ้นแม้ว่าผู้ผลิตบางรายอาจต้องการให้อ้อยมีเวลาเติบโตมากขึ้นหลังจากฝนตกชุก
          - โรงงานน้ำตาล Dhampur Sugar ในอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ขยายกำลังการผลิตกากน้ำตาลซึ่งทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 130,000 ลิตร/วัน เป็น 350,000 ลิตร/วัน โดยในช่วงสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ในเดือนธันวาคม บริษัทผลิตน้ำตาลได้ 102,000 ตันจากอ้อย 1.3 ล้านตัน เทียบกับน้ำตาล 122,000 ตัน จากอ้อย 1.2 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 25.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,523.52 เซนต์ (18.89 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,531.92 เซนต์ (18.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 489.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.51 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 489.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ  0.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.07 เซนต์ (44.67 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.89 เซนต์ (44.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.35


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.45 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.40 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,051.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,075.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.29 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 839.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 859.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,323.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,366.60 ดอลลาร์สหรัฐ (44.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.44 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 853.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.82 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,196.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.84 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,224.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.32 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.69 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.53 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,016 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,832 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,464 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,359 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 975 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 992 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  98.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.97 คิดเป็นร้อยละ 0.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.20 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 98.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 92.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,700 บาท ลดลงจากตัวละ 3,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.16 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.56 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ลดลงจากตัวละ 17.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 341 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 348 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 344 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 394 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 395 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 417 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 400 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 367 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 428 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.59 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.18 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 - 12 กุมภาพันธ์ 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การ
สะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท      
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.47 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 83.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 164.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 162.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.58 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 169.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.51 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.99 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา